Official website, please click:
www.aclc-asia.com
คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่ พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่ พิมพ์ครั้งที่สอง
ติดต่อซื้อได้ที่ AcComm Group 02 197 4588-9
(C) Copyright – All rights reserved. AcComm Group
คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่ พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง
คู่มือการโค้ช เพื่อผู้นำยุคใหม่ พิมพ์ครั้งที่สอง
ติดต่อซื้อได้ที่ AcComm Group 02 197 4588-9
(C) Copyright – All rights reserved. AcComm Group
หากท่านกำลังหาที่อบรมทักษะการโค้ชอยู่ และมองหาว่าจะเรียนการโค้ชที่ไหนดีที่สุด สำหรับวัตุประสงค์ที่ตั้งไว้ เพื่อให้ท่านเลือกหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการ ดิฉันขอแยกแยะให้เห็นก่อนว่า การโค้ชที่องค์กรนำเข้ามาใช้มีหลายรูปแบบ และท่านต้องการรูปแบบใด จะได้เลือกได้สอดคล้องกับเป้าหมายขององค์กร
การนำการโค้ชมาใช้ในองค์กร แบ่งออกเป็นคร่าวๆ สามรูปแบบ
หนึ่ง ว่าจ้างโค้ชผู้บริหารเข้ามาโค้ชระดับบริหารขององค์กร แบบนี้ไม่ถือเป็นการอบรม แต่เป็นการพัฒนาผู้บริหารตัวต่อตัว โค้ชที่ว่าจ้างเข้ามามักได้รับการอบรมด้านการโค้ชมาครบถ้วน และมีชั่วโมงบินมาพอสมควรแล้ว การลงทุนกับแบบนี้ มักเน้นไปที่ผู้บริหารที่กำลังเติบโต มีศักยภาพ หรืออยู่ระหว่างการโอนย้ายตำแหน่ง และอยากได้โค้ชมาเป็นคู่คิดในช่วงก้าวข้ามการเปลี่ยนแปลงนี้ อีกประการ การโค้ชผู้บริหารที่มีความสำเร็จมากมาย แต่อาจติดขัดบางเรื่อง เช่นอยากปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่าง และถ้าทำได้ ทั้งตนเอง และคนรอบๆตัวก็จะมีความสุขและประสานงานกันดีขึ้น นำไปสู่ผลงานเป็นเลิศยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารที่เห็นผลลัพธ์ที่ดีที่ตนเองได้รับจากการโค้ช จึงอยากศึกษาวิธีการโค้ช ซึ่งขึ้นอยู่กับการคุยกันต่อไป ว่าโค้ชผู้บริหารจะใช้วิธีใดต่อไป
สองคือลงทุนสร้างโค้ชภายในองค์กร อาจเป็นบุคคลภายในหรือว่าจ้างเข้ามา กลุ่มนี้ ก็จะเป็นที่พึ่งของคนในองค์กรได้ เมื่อต้องการโค้ชหรือได้รับคำปรึกษาเรื่องการโค้ชให้กับผู้อื่นในองค์กร ชั่วโมงการเรียนจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับว่า องค์กรต้องการให้กลุ่มผู้เรียนได้รับประกาศนียบัตรไปถึงระดับใด ต้องการสร้างความน่าเชื่อถือและความมั่นใจให้คนกลุ่มนี้ในระดับไหน เมื่อประเมินความคาดหวังแล้ว ก็จะเลือกเรียนโค้ชที่ดีที่สุดสำหรับองค์กรได้ สถาบันอบรมด้านการโค้ชที่สอนทั้งขั้นพื้นฐาน และมีหลักสูตรต่อเนื่องเป็นขั้นสูง มีความรู้และแนวคิดใหม่ๆมาเสริมอยู่เสมอ ก็จะช่วยได้เยอะ ไม่ต้องหาที่ใหม่บ่อยๆ
สามคือการพัฒนาให้ผู้บริหาร ผู้จัดการและหัวหน้างาน ในองค์กรสามารถโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชาได้อย่างมีประสิทธิผล จากการสำรวจของสหพันธ์โค้ชนานาชาติในปีที่แล้ว (พ.ศ. 2557) ซึ่งสำรวจความคิดเห็นของผู้ที่อยู่ในหน่วยงานบริหารทรัพยากรมนุษย์และการพัฒนากว่า 500 คนจากองค์กรจากหลายทวีป ได้พบว่า เพียงร้อยละ 51 ที่บอกว่า ได้เข้ารับการอบรมพัฒนาทักษะการโค้ช และหากคิดเป็นชั่วโมงการอบรมคือ ประมาณ 30 ชั่วโมง ในขณะที่ร้อยละ 20 บอกว่าไม่ได้รับการอบรมเลย หากมองด้าน ROI ของการโค้ช ที่นำมาซึ่งประโยชนมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Leadership Development, Productivity, Employee Engagement, Customer Satisfaction และอีกมากมาย ก็น่าเสียดายที่เราไม่ได้ให้ทักษะกับผู้บริหารและผู้จัดการมากเพียงพอ เพราะเป็นการลงทุนทั้งกับผลงานปัจจุบัน และอนาคตขององค์กร
(C) Copyright – All rights reserved.
หลักสูตรประกาศนียบัตรการโค้ช ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (ICF)
Contact ีห: (66) 2197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com
บทความโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ในอดีต ศาสตร์และศิลป์ของการโค้ชยังไม่มีความชัดเจน ผสมผสานอยู่ในหมวดการบริหาร การเยียวยาทางสุขภาพ จิตวิทยา และอื่นๆ กว่าจะมาเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน ก็ผ่านวิวัฒนาการและการค้นคว้าศึกษาต่างๆมาไม่น้อยเลย
การโค้ช (Coaching) หมายถึง การสนับสนุนและช่วยให้ผู้ได้รับการโค้ช มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในทางที่ดีขึ้น โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการเป็นคู่คิดในการเรียนรู้ พัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้กับผู้ได้รับการโค้ช การโค้ชใช้กระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ เน้นไปที่อนาคต และการลงมือทำ
หลังจากการสนทนา การโค้ช (Coaching) มีการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย ผ่านการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และกระตุ้นให้ผู้ได้รับการโค้ช หรือโค้ชชี่มีแรงบันดาลใจ ในการนำศักยภาพในตนเองทั้งด้านส่วนตัวและในงาน ออกมาใช้สูงสุด
โค้ชถามและฟังมากกว่าพูด
กระตุ้นให้โค้ชชี่มีส่วนร่วม มีส่วนคิดให้มากที่สุด
การลงมือทำ
(C) Copyright – All rights reserved.
AcComm & Image International
Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
You must be logged in to post a comment.