Thailand Coaching Skills Training
Thailand Top Inlfuencer in Coaching – Interview by GM Magazine
Atchara Juicharern gave interview to GM Magazine as a Thailand Top Influencer in Coaching.
ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ ให้สัมภาษณ์ใน GM Magazine – Thailand Top Influencer 2018
Photo Credit: GM Magazine (To read more)
***********************************************************************************
Official website, please click: https://www.aclc-asia.com
การศึกษาด้านการโค้ช
Official website, please click:
www.aclc-asia.com
บทความโดย อัจฉรา จุ้ยเจริญ
การศึกษาด้านการโค้ชระดับโลก (2016 ICF Global Coaching Study) ของสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) ล่าสุดนี้ ถือว่าได้รับความร่วมมือครั้งยิ่งใหญ่ จากองค์กรที่ให้ความสนใจในประโยชน์จากการโค้ช จากองค์กรธุรกิจต่างๆ จากองค์กรที่ปรึกษาฯ สถาบันการศึกษาด้านการโค้ช และจากโค้ชมืออาชีพจากประเทศต่างๆ มีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจถึง 15,380 คน จาก 137 ประเทศทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศในทวีปเอเชียด้วย นับว่าเป็นการศึกษาด้านนี้ที่มีผู้เข้าร่วมทำการสำรวจมากที่สุด จากอดีตถึงปัจจุบัน และครอบคลุมหลากหลายวัฒนธรรมอีกด้วย
สำหรับในเอเชียมีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจกว่าหนึ่งพันเจ็ดร้อยคน ภาษาที่ใช้ในแบบสำรวจมีเก้าภาษา นอกจากภาษาอังกฤษแล้ว ยังมีภาษาญี่ปุ่น เกาหลี ภาษาจีนกลางและ ภาษาต่างๆ ในยุโรปด้วย ผลลัพธ์ที่น่าสนใจจากการศึกษาระดับโลกนี้พอสรุปได้ดังนี้
ท่านที่สงสัยว่า ผู้ชายหรือผู้หญิงเป็นโค้ชมากกว่ากัน การสำรวจนี้ชี้ชัดว่า 67% ของโค้ชมืออาชีพ เป็นผู้หญิง และ 54% ของลูกค้าที่ใช้การโค้ชก็เป็นผู้หญิง สองในสามคนระบุว่า ลูกค้าที่ตนเองโค้ช อยู่ในระดับผู้จัดการ และรองลงไปคือผู้บริหารระดับสูง เช่น CEO และ CFO หรือใกล้เคียง 60% ของลูกค้าที่รับการโค้ช อายุน้อยกว่า 45
ผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ 75% มองว่า ตลาดการโค้ชจะไปได้สวย และจะมีลูกค้าจำนวนมากขึ้นในอีก 12 เดือนข้างหน้า ส่วนใหญ่เชื่อว่าการโค้ช ไม่ได้ช่วยแค่บุคคล หรือองค์กรเท่านั้น แต่จะมีอิทธิพลในการเข้าไปช่วยคนในวงกว้างออกไปอีก หรือเข้าไปช่วยให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อครอบครัวและสังคมอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ตอบแบบสำรวจ มองว่าอุปสรรคในวงการโค้ชที่สำคัญอันดับต้นๆ คือ ความสับสนในการแยกแยะความแตกต่างของการโค้ชกับวิธีการอื่นๆ ซึ่งเป็นมุมมองที่คล้ายกันสำหรับผู้ตอบแบบสำรวจที่เป็นโค้ชมืออาชีพและผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กร
ข้อมูลเพิ่มเติมติดตามได้ที่ http://coachfederation.org
Thailand Coaching – ICF Approved Coach Specific Training (ACSTH)
Official website, please click
http://www.aclc-asia.com
Contact us: Tel. (66) 2197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com, info@aclc-asia.com
Thailand Coaching – ICF Approved Coach Specific Training Hours Program (ACSTH and CCE)
บทความ แนวโน้ม การโค้ช โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ปัจจุบันองค์กรมากมายเริ่มปรับเปลี่ยนรูปแบบการพัฒนาบุคลากรแบบดั้งเดิม มาผสมผสานใช้การโค้ช โดยเฉพาะเมื่อมีผลจากการศึกษาที่สนับสนุนให้เห็นว่า องค์กรที่มีวัฒนธรรมการโค้ชที่ดี มีผลลัพธ์ด้านความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร และผลลัพธ์ด้านรายได้ที่สูงกว่า
สหพันธ์โค้ชนานาชาติ (International Coach Federation) มีการศึกษาแนวโน้มต่างๆ ของการโค้ชอย่างต่อเนื่อง ปีที่แล้ว (ค.ศ. 2015 ) ได้พบว่า 67% ขององค์กรที่มีวัฒนธรรมการโค้ชที่ดีแล้ว มีการใช้การโค้ชทั้งสามรูปแบบ คือ หนึ่ง ใช้โค้ชมืออาชีพจากภายนอก สอง สร้างโค้ชที่เชี่ยวชาญสำหรับภายในองค์กร และสาม พัฒนาทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารและผู้จัดการในองค์กร เมื่อเปรียบเทียบปี ค.ศ. 2014 กับ ค.ศ. 2015 ยังได้พบด้วยว่า มีการเจริญเติบโตต่อเนื่องในการใช้การโค้ชทั้งสามรูปแบบในองค์กร
จากการสำรวจล่าสุดในปีนี้ (ค.ศ. 2016) ได้พบข้อมูลที่น่าสนใจ สำหรับรูปแบบที่สาม คือผู้บริหารและผู้จัดการที่ใช้การโค้ชกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทีมงาน ผลชี้ว่า 76% ของผู้ที่เข้าร่วมการสำรวจ รายงานว่า ใช้ความรู้ ทักษะและวิธีการโค้ชกับทีมและกลุ่มงาน 64% นำการโค้ชไปใช้กับกลุ่มบุคลากรที่มีศักยภาพสูง สำหรับการพัฒนาให้ผู้บริหารและผู้จัดการมีทักษะและวิธีการโค้ช 73% ระบุว่าได้รับการอบรมจากหลักสูตรการโค้ชที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน
ผู้บริหารหญิงมีการโค้ชผู้ใต้บังคับบัญชา 64% ซึ่งสูงกว่า ผู้บริหารชายซึ่งอยู่ที่ 34% เมื่อดูที่ระดับการศึกษาพบว่า 61% มีระดับการศึกษาระดับปริญญาโทขึ้นไป และเมื่อดูตามทวีป ทวีปที่ผู้บริหารใช้ทักษะการโค้ชกับผู้ใต้บังคับบัญชาหรือทีมงานมากที่สุดคือ ทวีปอเมริกาเหนือ (33%) รองลงมาคือ ทวีปยุโรป (27%) และสำหรับในเอเชียอยู่ที่ 18%
(ข้อมูลเพิ่มเติม: Coaching Study – coachfederation.org/2016study)
ดร.แดเนียล โกลด์แมน นักจิตวิทยาที่มีชื่อเสียง และผู้เขียนหนังสือโด่งดังคือ Emotional Intelligence ได้กล่าวถึง สไตล์ผู้นำที่สำคัญหกสไตล์ และผู้นำสไตล์โค้ชส่งผลเชิงบวกต่อผลงานและบรรยากาศการทำงาน แต่กลับเป็นสไตล์ที่ได้รับการนำมาใช้น้อยที่สุดเมื่อเทียบกับสไตล์อื่นๆ
ถึงแม้องค์กรส่วนใหญ่จะตระหนักในความสำคัญของการส่งเสริมให้ผู้บริหารและผู้จัดการใช้การโค้ชในทีมงานก็ตาม แต่สำหรับผู้บริหารเอง มีไม่น้อยเลยที่เผชิญกับอุปสรรคของการนำทักษะมาใช้ในการทำงานจริง การพัฒนาให้ผู้บริหารและผู้จัดการเป็นโค้ชที่ดีนั้น หลังจากพัฒนาทักษะไปแล้ว ผู้สอนจึงควรติดตามให้การสนับสนุนต่อเนื่อง และอาจต้องใช้กระบวนการปรับเปลี่ยนอุปนิสัยเข้ามาช่วยด้วย
(C) Copyright – All rights resreved.
**************
Official website, please click: https://www.aclc-asia.com/coaching
ข้อมูลหลักสูตร Coaching:
https://www.aclc-asia.com/coaching
Coaching (การโค้ช)
Official website, please click:
https://www.aclc-asia.com/coaching
ข้อมูลหลักสูตร Coaching:
https://www.aclc-asia.com/coaching
ดิฉันเชื่อว่า ความรู้สึกและสิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของเราวันนี้ ส่วนหนึ่งมาจากผลพวงของคำถามที่เราถามตนเองเมื่อวานนี้ การตั้งคำถามให้ตนเองจึงมีความสำคัญต่อความสุขของเรา
วิธีการโค้ชตนเองง่ายๆ ทำได้โดยเปลี่ยนจากการใช้คำถามแบบ Passive Questions ซึ่งนำให้เราตำหนิสิ่งแวดล้อมภายนอก ที่เราควบคุมไม่ได้ มาเป็นการใช้คำถาม Active Questions ที่ทำให้เรามีความสุขสำเร็จมากขึ้น ซึ่งเป็นเทคนิคที่แนะนำโดย Dr. Marshall Goldsmith กูรูการโค้ชของวงการ
จากการศึกษาของ Dr. Marshall Goldsmith ที่มีผู้ร่วมตอบแบบสำรวจ 2,537 คน:
- 37% ของผู้ที่ถามคำถาม Active Questions กับตนเองเป็นเวลาสองอาทิตย์ รู้สึกดีขึ้นในทุกด้าน
- 65% บอกว่า ดีขึ้นอย่างน้อยสี่ด้าน
- 89% บอกว่าดีขึ้นอย่างน้อยหนึ่งด้าน
- 5% บอกว่าเหมือนเดิม
- และ 0% บอกว่า แย่กว่าเดิม นั่นหมายความว่า ไม่มีใครบอกว่า แย่ลง แม้แต่คนเดียว
Dr. Marshall Goldsmith แนะนำ หกคำถาม (Active Questions) ในการโค้ชตนเอง ที่จะทำให้เรามีความสุขมากขึ้น
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ในการตั้งเป้าหมายที่ชัดเจนให้ตนเอง
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ในการสร้างความคืบหน้าไปสู่การบรรลุเป้าหมาย โดยสำเร็จ
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ที่จะทำให้ตนเองมีความสุข
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ที่จะทำให้งานที่ทำเป็นงานที่มีความหมาย
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ที่จะทำให้ตนเองรักและเต็มที่กับงาน
- ฉันได้ทำดีที่สุดหรือยัง ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นในการทำงาน และร่วมงานกัน
ก่อนปิดท้าย อยากให้ลองถามตนเองว่า ในการดำเนินชีวิตและการทำงานของเราทุกวันนี้ เคยถามตนเองหรือไม่ ว่าเราทำเพื่ออะไร
- เพื่อทำงานให้เสร็จสิ้นไปวันๆ
- เพื่อให้มีเงินทองซื้อหาทรัพย์สินที่ต้องการ
- เพื่อให้เกิดความสุขที่ยั่งยืน
เรียบเรียงโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ (PCC) โค้ชผู้บริหาร ที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์โค้ชนานาชาติ
AcComm Group is Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
(C) Copyright – All rights reserved.
You must be logged in to post a comment.