บทสัมภาษณ์ ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ ในประชาชาติธุรกิจ
ICF Approved Coach Specific Training Program
ACSTH and CCE
Official Website: www.aclc-asia.com
Tel. (66) 2197 4588-9
บทสัมภาษณ์ ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ ในประชาชาติธุรกิจ
Leaders find values in coaching…… to read, please click
บทความ โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ โค้ชผู้บริหารที่ได้รับการรับรองจาก ICF ในระดับ PCC
สหพันธ์โค้ชนานาชาติ หรือ International Coach Federation (ICF) ได้ทำการศึกษาองค์กรในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องอีกครั้ง ร่วมกับ Human Capital Institute (HCI) ถึงความเชื่อมโยงของการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรกับประโยชน์ที่องค์กรได้รับ โดยเฉพาะในด้านการสร้างความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร (Employee Engagement) พอสรุปผลล่าสุดที่ได้รับออกมาดังนี้
ในปี 2014 มี 13% ขององค์กรที่ร่วมในการสำรวจ รายงานว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรแล้ว โดย 65% ของบุคคลจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้ ยืนยันว่าเขามีความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูงมาก
ในปี 2015 ผลลัพธ์การสำรวจจากกว่าสามร้อยองค์กรที่เข้าร่วม ได้เผยถึงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ในด้านงบประมาณ องค์กรวางแผนงบประมาณเพื่อการโค้ชในรูปแบบต่างๆ มากกว่าปีที่แล้ว 3% ในด้านผลตอบแทนที่ได้รับ สำหรับองค์กรที่มีวัฒนธรรมการโค้ชแล้วยังคงรายงานถึงผลดีที่ได้รับคือมีระดับ Employee Engagement ที่สูงขึ้น อีกทั้งบุคลากรที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับโอกาสให้เข้าถึงการโค้ช รายงานถึงความผูกพันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนั้นองค์กรกลุ่มนี้ยังรายงานถึงด้านการเติบโตของรายได้ที่สูงกว่าองค์กรใกล้เคียงกัน
ในการประเมินว่าองค์กรนั้นถือได้ว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชที่แข็งแกร่งแล้วหรือไม่ ICF ได้ใช้เกณฑ์ให้ผู้ร่วมทำสำรวจประเมินองค์กรของตนเองดังต่อไปนี้ หนึ่ง เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าบุคลากรเห็นคุณค่าให้ความสำคัญกับการโค้ช สอง เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าผู้บริหารระดับสูงเห็นคุณค่าให้ความสำคัญกับการโค้ช สาม ผู้จัดการและผู้นำในองค์กรให้เวลาในการโค้ชในแต่ละอาทิตย์สูงกว่าโดยเฉลี่ยทั่วไป สี่ ผู้จัดการและผู้นำในองค์กรได้รับการอบรมด้านการโค้ชในโปรแกรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ห้า การโค้ชได้รับการจัดวางและการสนับสนุนในระบบงบประมาณเป็นที่แน่นอน และหก คือ บุคลากรทั้งหมดในองค์กร ได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน ในการได้รับการโค้ชจากโค้ชที่มีความเป็นมืออาชีพ ในการสำรวจนี้ ICF จะนับเฉพาะกลุ่มที่เลือกห้าหรือหกข้อในเกณฑ์ที่ให้ไว้ ที่ถือว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชที่แข็งแกร่งแล้ว จะเห็นว่า ICF มองหาการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมากกว่าเพียงแค่การเห็นความสำคัญเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาอ่านได้จาก http://www.coachfederation.org
ในการสร้างการโค้ชเป็นวัฒนธรรมองค์กร คำถามแรกคือ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าองค์กรเราได้มีวัฒนธรรมการโค้ชแล้ว เราสามารถประเมินวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรได้จากสองด้านด้วยกันนะคะ คือด้านรูปธรรม มองเห็นได้ กับด้านนามธรรม มองไม่เห็นแต่ซึมลึกอยู่ในการกระทำของคนในองค์กร
รูปธรรม
นามธรรม
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง ที่องค์กรจัดอบรมทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการในองค์กรไปแล้ว แต่กลับไม่มีการนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นวัฒนธรรม สาเหตุอย่างหนึ่งคือการอบรมนั้นไม่ได้ออกแบบมาสำหรับบริบทของผู้บริหารในองค์กร เสียงบ่นที่ตามมาคือ ยาก ทำไม่ได้ ก็เลยไม่ทำดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไปอบรมมา ผู้บริหารจะทราบว่าโค้ชที่ดีไม่ควรสั่งแต่ให้ถาม แต่พอนั่งถามลูกน้องไปสักพัก กว่าจะเข้าใจว่าควรจะโฟกัสอะไร ก็ฟังจนเหนื่อยแล้ว ปัญหาต่อไปคือ แล้วจะใช้เครื่องมืออำนวยการพัฒนาอะไร การปรับความคิดควรช่วยยังไง และการติดตามผลสำหรับเรื่องนี้ใช้วิธีการและระยะเวลาเท่าไหร่ดีที่สุด
ทักษะการโค้ชที่นำเข้ามาให้ผู้บริหารในองค์กร จึงควรออกแบบด้วยความเข้าใจบริบทของผู้บริหารและผู้จัดการ หัวหน้างาน ในองค์กร ผลลัพธ์การโค้ชในองค์กรมักต้องเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของงานด้วย
การอบรมทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารในองค์กร จึงอาจต้องเริ่มที่การปรับกระบวนทัศน์ ทัศนคติหรือความตั้งใจก่อน ว่าบทบาทของผู้บริหารในฐานะโค้ชคืออะไร ผู้สอนการโค้ชในองค์กร ที่เชี่ยวชาญ จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารมีวิธีการออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาโค้ชชี่ที่สร้างสรรค์ เป็นระบบ และประหยัดเวลา
ที่สำคัญการโค้ชใช้ทักษะการสื่อสารขั้นสูง ดังนั้นการปูพื้นทักษะการสื่อสารที่ดี จัดระบบการพูด การฟังและการถามได้เอง จะช่วยให้โค้ชได้ดีอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ ทักษะต่างๆนี้ ยังส่งเสริมสมรรถนะด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและผู้จัดการ ได้อย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วยค่ะ
สำหรับขั้นตอนการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร ถ้าตามโมเดลที่ใช้กันทั่วไปมักจะมี 7 หรือ 8 ขั้นตอน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาปฏิบัติจริงๆ จากประสบการณ์ของดิฉันนั้น องค์กรที่ทำได้ดีและมีความคืบหน้า ไม่ได้เริ่มเป็นลำดับตามนั้น แต่เป็นองค์กรที่เริ่มจากการวิเคราะห์ตนเองก่อน ว่าปัจจุบันอยู่ตรงไหน และสามารถทำหลายขั้นตอนไปพร้อมกันได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลเร็วที่สุดค่ะ
แอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล – ผู้ออกแบบและสอนหลักสูตรการโค้ชในองค์กร
เพื่อไปสู่วัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร
ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอน โดย ICF (International Coach Federation)
AcComm & Image International- Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
Contact: 2197 4588-9, 081 172 3666
Official website, please click:
Coaching คืออะไร
บทคววาม โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ในอดีต ศาสตร์และศิลป์ของการโค้ชยังไม่มีความชัดเจน ผสมผสานอยู่ในหมวดการบริหาร การเยียวยาทางสุขภาพ จิตวิทยา และอื่นๆ กว่าจะมาเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน ก็ผ่านวิวัฒนาการและการค้นคว้าศึกษาต่างๆมาไม่น้อยเลย
การโค้ช (Coaching) หมายถึง การสนับสนุนและช่วยให้ผู้ได้รับการโค้ช มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในทางที่ดีขึ้น โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการเป็นคู่คิดในการเรียนรู้ พัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้กับผู้ได้รับการโค้ช การโค้ชใช้กระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ เน้นไปที่อนาคต และการลงมือทำ
หลังจากการสนทนา การโค้ช (Coaching) มีการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย ผ่านการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และกระตุ้นให้ผู้ได้รับการโค้ช หรือโค้ชชี่มีแรงบันดาลใจ ในการนำศักยภาพในตนเองทั้งด้านส่วนตัวและในงาน ออกมาใช้สูงสุด
การโค้ช โดย แอคคอม แอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล
โค้ชถามและฟังมากกว่าพูด
กระตุ้นให้โค้ชชี่มีส่วนร่วม มีส่วนคิดให้มากที่สุด
การลงมือทำ
AcComm & Image International
Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
หลักสูตรการโค้ช (Coaching) ที่ไดรับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอน โดยสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (ICF)
สอนโดย โค้ชผู้บริหาร ทึ่ได้รับการรับรองโดยสหพันธ์โค้ชนานาชาติ (ICF)
หลักสูตรประกาศนียบัตร: