Official website, please click:
https://www.aclc-asia.com/coaching
ข้อมูลหลักสูตร Coaching:
https://www.aclc-asia.com/coaching
Contact ีห: (66) 2197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com
Coaching คืออะไร
บทความโดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ในอดีต ศาสตร์และศิลป์ของการโค้ชยังไม่มีความชัดเจน ผสมผสานอยู่ในหมวดการบริหาร การเยียวยาทางสุขภาพ จิตวิทยา และอื่นๆ กว่าจะมาเป็นศาสตร์เฉพาะด้าน ก็ผ่านวิวัฒนาการและการค้นคว้าศึกษาต่างๆมาไม่น้อยเลย
การโค้ช (Coaching) หมายถึง การสนับสนุนและช่วยให้ผู้ได้รับการโค้ช มีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาในทางที่ดีขึ้น โดยเน้นการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน โดยใช้วิธีการเป็นคู่คิดในการเรียนรู้ พัฒนา เปลี่ยนแปลง ให้กับผู้ได้รับการโค้ช การโค้ชใช้กระบวนการสนทนาที่สร้างสรรค์ สร้างแรงบันดาลใจ เน้นไปที่อนาคต และการลงมือทำ
หลังจากการสนทนา การโค้ช (Coaching) มีการลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องจนบรรลุเป้าหมาย หรือจุดมุ่งหมาย ผ่านการเรียนรู้ที่สร้างสรรค์ และกระตุ้นให้ผู้ได้รับการโค้ช หรือโค้ชชี่มีแรงบันดาลใจ ในการนำศักยภาพในตนเองทั้งด้านส่วนตัวและในงาน ออกมาใช้สูงสุด
โค้ชถามและฟังมากกว่าพูด
- โค้ชถามเพื่อให้โค้ชเข้าใจโค้ชชี่ คำถามควรเป็นประโยชน์ในการช่วยให้โค้ชชี่ได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ และตระหนักในศักยภาพของตน หรือมีความชัดเจนมากขึ้น
- ไม่ควรใช้การถามเน้นปัญหาหรือตอกย้ำอดีตที่แก้ไขไม่ได้ ควรถามเน้น Solutions ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
- คำถาม “Why” ควรหลีกเลี่ยง เพราะฟังดูแล้วเหมือน ถามกวนๆหรือไม่เชื่อใจ และนำการสนทนากลับไปที่ปัญหาและอดีต ถ้าอยากทราบว่าทำไมโค้ชชี่ทำแบบนั้น แทนที่จะถามว่า “ทำไมทำรายงานแบบนี้” หรือ “จะทำโครงการนี้ไปทำไม” อาจเปลี่ยนไปถามว่า “รายงานที่คุณทำ มีกระบวนการความคิดอย่างไร” “โครงการนี้ส่งผลอย่างไรต่อตัวคุณ”
กระตุ้นให้โค้ชชี่มีส่วนร่วม มีส่วนคิดให้มากที่สุด
- พยายามให้โค้ชชี่ได้คิด ได้มีส่วนร่วมมากที่สุด โค้ชชี่ควรรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ที่เขาคิดออกมาว่าดีที่สุด เป็นทางเลือกที่ดีที่สุดสำหรับเขา ส่วนโค้ชรับผิดชอบกระบวนการโดยรวมของการเรียนรู้และติดตามผลตามแผนที่ตกลงกัน (Coach is responsible for the process. Coachee is responsible for learning the contents.)
การลงมือทำ
- ในการอบรม (Training) เราเน้นการถ่ายทอดความรู้และทักษะให้ผู้เรียน (Knowledge and Skills Transfer) แต่การโค้ชเน้นการปฏิบัติ (Actions)
- เมื่อตกลงในทางเลือกที่ดีที่สุดแล้ว แผนการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติ ควรเป็นตัวโค้ชชี่เองที่นำไปปฏิบัติอย่างมีกำหนดเวลาชัดเจน
- โค้ชช่วยกระตุ้นความคืบหน้า และแลกเปลี่ยน Feedback เพื่อให้การพัฒนามีความต่อเนื่อง และโค้ชชี่บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิผล
(C) Copyright – All rights reserved.
AcComm & Image International
Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand