Official website, please click:
https://www.aclc-asia.com/coaching
ข้อมูลหลักสูตร Coaching:
https://www.aclc-asia.com/coaching
บทความ โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ โค้ชผู้บริหารที่ได้รับการรับรองจาก ICF ในระดับ PCC
สหพันธ์โค้ชนานาชาติ หรือ International Coach Federation (ICF) ได้ทำการศึกษาองค์กรในประเทศต่างๆ อย่างต่อเนื่องอีกครั้ง ร่วมกับ Human Capital Institute (HCI) ถึงความเชื่อมโยงของการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรกับประโยชน์ที่องค์กรได้รับ โดยเฉพาะในด้านการสร้างความผูกพันของบุคลากรที่มีต่อองค์กร (Employee Engagement) พอสรุปผลล่าสุดที่ได้รับออกมาดังนี้
ในปี 2014 มี 13% ขององค์กรที่ร่วมในการสำรวจ รายงานว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรแล้ว โดย 65% ของบุคคลจากกลุ่มองค์กรเหล่านี้ ยืนยันว่าเขามีความผูกพันต่อองค์กรในระดับสูงมาก ในปี 2015 ผลลัพธ์การสำรวจจากกว่าสามร้อยองค์กรที่เข้าร่วม ได้เผยถึงแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกัน ในด้านงบประมาณ องค์กรวางแผนงบประมาณเพื่อการโค้ชในรูปแบบต่างๆ มากกว่าปีที่แล้ว 3% ในด้านผลตอบแทนที่ได้รับ สำหรับองค์กรที่มีวัฒนธรรมการโค้ชแล้วยังคงรายงานถึงผลดีที่ได้รับคือมีระดับ Employee Engagement ที่สูงขึ้น อีกทั้งบุคลากรที่มีศักยภาพสูงที่ได้รับโอกาสให้เข้าถึงการโค้ช รายงานถึงความผูกพันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่แล้ว นอกจากนั้นองค์กรกลุ่มนี้ยังรายงานถึงด้านการเติบโตของรายได้ที่สูงกว่าองค์กรใกล้เคียงกัน
ในการประเมินว่าองค์กรนั้นถือได้ว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชหรือไม่ ICF ได้ใช้เกณฑ์หกระดับ ระดับที่หนึ่ง เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าบุคลากรให้ความสำคัญกับการโค้ช ระดับที่สอง เห็นด้วยอย่างยิ่งว่าผู้บริหารระดับสูงให้ความสำคัญกับการโค้ช ระดับที่สาม ผู้จัดการและผู้นำในองค์กรให้เวลาในการโค้ชในแต่ละอาทิตย์สูงกว่าโดยเฉลี่ยทั่วไป ระดับที่สี่ ผู้จัดการและผู้นำในองค์กรได้รับการอบรมด้านการโค้ชในโปรแกรมที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ระดับที่ห้า การโค้ชได้รับการจัดวางและการสนับสนุนในระบบงบประมาณเป็นที่แน่นอน และระดับที่หก คือ บุคลากรทั้งหมดในองค์กร ได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน ในการได้รับการโค้ชจากโค้ชที่มีความเป็นมืออาชีพ ในการสำรวจนี้ ICF จะนับเฉพาะกลุ่มที่ประเมินตนเองอยู่ในระดับที่ห้าหรือหกเท่านั้นที่ถือว่ามีวัฒนธรรมการโค้ชแล้ว จะเห็นว่า ICF มองหาการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม ซึ่งมากกว่าเพียงแค่การเห็นความสำคัญเท่านั้น
ข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาอ่านได้จาก http://www.coachfederation.org
สร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร
ในการทำให้การโค้ชเป็นวัฒนธรรมองค์กร คำถามแรกคือ เราจะทราบได้อย่างไร ว่าองค์กรเราได้มีวัฒนธรรมการโค้ชแล้ว เราสามารถประเมินวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กรได้จากสองด้านด้วยกันนะคะ คือด้านรูปธรรม มองเห็นได้ กับด้านนามธรรม มองไม่เห็นแต่ซึมลึกอยู่ในการกระทำของคนในองค์กร
ด้านรูปธรรม เห็นได้ว่า หนึ่ง ความสำคัญของการโค้ชงานถูกระบุไว้ในกลยุทธ์และพันธกิจขององค์กรแล้วหรือยัง สองทักษะการโค้ชถูกระบุว่าเป็นหนึ่งในสมรรถนะที่สำคัญของผู้บริหารในองค์กรหรือไม่ สามผู้บริหารและผู้จัดการใช้สไตล์การพูดคุยแบบโค้ช ในการประชุม ในการระดมสมอง ในการแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันกับทีมงาน สี่ได้ระบุความหมายเฉพาะของการโค้ชสำหรับองค์กรเราแล้ว และห้าวางกลยุทธ์และระบบการโค้ชที่ชัดเจน เช่นผู้บริหาร ผู้จัดการ หัวหน้างาน ที่จะทำหน้าที่โค้ชในองค์กรเราควรมีสมรรถนะพื้นฐานอะไร และควรเพิ่มเสริมอะไรเฉพาะองค์กรของเรา
ด้าน นามธรรม หนึ่งคือคนในองค์กรมีมุมมองไปในทางเดียวกันว่า คนทุกคนมีศักยภาพและทรัพยากรความสามารถแตกต่างกันไปซ่อนอยู่ในตนเอง สองเข้าใจว่าการได้มีส่วนในการคิดหาคำตอบและทางออกด้วยตนเองด้วยจะทำให้คนพัฒนาได้รวดเร็วขึ้น สามบุคลากรในองค์กรชอบเรียนรู้ พัฒนาตนเองแสวงหาความรู้ และทักษะใหม่ๆด้วยความกระตือรือร้น
ประเด็นสำคัญอย่างหนึ่ง ที่องค์กรจัดอบรมทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารหรือผู้จัดการในองค์กรไปแล้ว แต่กลับไม่มีการนำไปปฏิบัติจนเกิดเป็นวัฒนธรรม สาเหตุอย่างหนึ่งคือการอบรมนั้นไม่ได้ออกแบบมาสำหรับบริบทของผู้บริหารในองค์กร เสียงบ่นที่ตามมาคือ ยาก ทำไม่ได้ ก็เลยไม่ทำดีกว่า ยกตัวอย่างเช่น เมื่อไปอบรมมา ผู้บริหารจะทราบว่าโค้ชที่ดีไม่ควรสั่งแต่ให้ถาม แต่พอนั่งถามลูกน้องไปสักพัก กว่าจะเข้าใจว่าควรจะโฟกัสอะไร ก็ฟังจนเหนื่อยแล้ว ปัญหาต่อไปคือ แล้วจะใช้เครื่องมืออำนวยการพัฒนาอะไร การปรับความคิดควรช่วยยังไง และการติดตามผลสำหรับเรื่องนี้ใช้วิธีการและระยะเวลาเท่าไหร่ดีที่สุด
ทักษะการโค้ชที่นำเข้ามาให้ผู้บริหารในองค์กร จึงควรออกแบบด้วยความเข้าใจบริบทของผู้บริหารและผู้จัดการ หัวหน้างาน ในองค์กร เพราะบริบทหลายอย่างไม่เหมือนโค้ชโดยอาชีพ คนในองค์กรมีภาระหน้าที่อย่างอื่นด้วย และผลลัพธ์การโค้ชในองค์กรมักต้องเชื่อมโยงกับผลลัพธ์ของงานด้วย
การอบรมทักษะการโค้ชให้ผู้บริหารในองค์กร จึงอาจต้องเริ่มที่ หนึ่ง คือปรับกระบวนทัศน์ ทัศนคติหรือความตั้งใจก่อน ว่าบทบาทของผู้บริหารในฐานะโค้ชคืออะไร ทำไปเพื่ออะไร สองคือต้องให้ทักษะ ที่นำไปลองใช้ได้เลยและมีประสิทธิภาพ สาม มีเครื่องมือ ที่ตอบโจทย์การพัฒนาลูกน้องในหน่วยงานของเขา เมื่อเชี่ยวชาญขึ้นแล้ว เขาจะปรับกระบวนท่าเองอย่างไรก็ไม่เป็นไร
ผู้สอนการโค้ชในองค์กร ที่เชี่ยวชาญ จะสามารถช่วยให้ผู้บริหารมีวิธีการออกแบบการเรียนรู้และพัฒนาโค้ชชี่ที่สร้างสรรค์ เป็นระบบ และประหยัดเวลา
ที่สำคัญการโค้ชใช้ทักษะการสื่อสารขั้นสูง ดังนั้นการปูพื้นทักษะการสื่อสารที่ดี จัดระบบการพูด การฟังและการถามได้เอง จะช่วยให้โค้ชได้ดีอย่างรวดเร็ว และที่สำคัญ ทักษะต่างๆนี้ ยังส่งเสริมสมรรถนะด้านภาวะผู้นำของผู้บริหารและผู้จัดการ ได้อย่างไม่น่าเชื่ออีกด้วยค่ะ
สำหรับขั้นตอนการสร้างวัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร ถ้าตามโมเดลที่ใช้กันทั่วไปมักจะมี 7 หรือ 8 ขั้นตอน อย่างไรก็ตาม เมื่อนำมาปฏิบัติจริงๆ จากประสบการณ์ของดิฉันนั้น องค์กรที่ทำได้ดีและมีความคืบหน้า ไม่ได้เริ่มเป็นลำดับตามนั้น แต่เป็นองค์กรที่เริ่มจากการวิเคราะห์ตนเองก่อน ว่าปัจจุบันอยู่ตรงไหน และสามารถทำหลายขั้นตอนไปพร้อมกันได้ เพื่อให้เกิดประสิทธิผลเร็วที่สุดค่ะ
แอคคอมแอนด์อิมเมจ อินเตอร์เนชั่นแนล – ผู้ออกแบบและสอนหลักสูตรการโค้ชในองค์กร เพื่อไปสู่วัฒนธรรมการโค้ชในองค์กร ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการเรียนการสอน โดย ICF (International Coach Federation)
(C) Copyright – All rights reserved.
AcComm & Image International- Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
Contact us: Tel. 02 197 4588-9
Official website, please click:
https://www.aclc-asia.com/coaching
ข้อมูลหลักสูตร Coaching:
https://www.aclc-asia.com/coaching