FOR OFFICIAL WEBSITE, PLEASE CLICK:
WWW.ACLC-ASIA.COM
โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ
ปัจจุบันองค์กรลงทุนจำนวนมาก และใช้การสื่อสารหลายรูปแบบและช่องทาง ในการส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดี การสื่อสารภาพลักษณ์ที่คาดหวังไว้ จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่อเมื่อบุคลากรมีความเข้าใจในภาพลักษณ์นั้นอย่างแท้จริง และปฏิบัติตนไปในทางที่สนับสนุนภาพลักษณ์นั้นอย่างสม่ำเสมอ การรักษาภาพลักษณ์ให้แข็งแกร่งมาจากการปฏิบัติอย่างจริงใจ (Sincere) และสม่ำเสมอ (Consistency) จนเป็นเหมือนกิจวัตร และส่วนหนึ่งของการทำงานและในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น
โดยทั่วไปเราจะเห็นว่า บุคลากรที่ได้รับมอบหมายให้เป็นตัวแทนขององค์กรในงานชิ้นสำคัญ หรือเป็นตัวแทนไปติดต่อกับบุคคลสำคัญ มักเป็นผู้ที่รักษาภาพลักษณ์ของตนและขององค์กรได้ดี ยิ่งคุณก้าวไปในตำแหน่งที่สำคัญมากเท่าไหร่ หรือคุณพบปะสื่อสารกับผู้อื่นมากขึ้นเท่าไหร่ ภาพลักษณ์ของคุณยิ่งสำคัญและสะท้อนถึงภาพลักษณ์ขององค์กรมากขึ้นเท่านั้น แม้แต่ภายในองค์กรเอง บทบาทในการเป็นตัวอย่างที่ดีให้บุคลากรรุ่นหลังมีความสำคัญอย่างมากเช่นเดียวกัน เพราะจะช่วยให้คงไว้ซึ่งภาพลักษณ์และวัฒนธรรมที่ต้องการ
ลองทำแบบประเมินตนเอง ด้านล่างนี้ดูนะคะ ว่าคุณดูแลบุคลิกภาพของตนเองมากน้อยอย่างไร เพียงตอบว่า ใช่หรือไม่ใช่หน้าข้อต่อไปนี้ค่ะ
เสื้อผ้าและการแต่งกาย
- คุณทราบว่าควรเลือกแต่งกายอย่างไรให้เหมาะสมกับโอกาส
- คุณใส่ใจดูแลทรงผม เล็บ และเสื้อผ้าของคุณได้ดี
- ชุดที่คุณใส่ได้รับการเลือกสีสันให้เข้ากันทั้งตัวได้ดี
- คุณรู้ว่าสีที่เหมาะสมกับผิวคุณคือสีอะไร
- คุณทราบว่ารูปร่างคุณเป็นแบบไหนและเลือกเสื้อผ้าได้เหมาะสมกับรูปร่างของคุณ
- คุณดูแลผิวพรรณของตนเอง
- ทรงผมของคุณเหมาะสมกับรูปหน้าของคุณ
- คุณสามารถเลือกใช้เครื่องประดับที่เหมาะสมกับชุดที่คุณใส่
ท่วงท่าภาษากาย
- คุณใช้ภาษากายเหมาะสมในการสนทนา
- คุณแสดงออกทางสีหน้าเหมาะสมระหว่างการสนทนา
- คู่สนทนาของคุณมักผ่อนคลาย ไม่แสดงออกอย่างอึดอัดขณะที่คุยกับคุณ
- คุณมีความมั่นใจในขณะที่ยืน เดินและนั่ง
- คุณใช้สายตาได้อย่างเหมาะสมในการสนทนาแบบตัวต่อตัว
- คุณทราบว่าควรยืนพูดคุยในระยะห่างเท่าไหร่กับคู่สนทนาในแต่ละวัฒนธรรม
การสื่อสาร
- คุณสื่อสารได้ชัดเจนด้วยระดับเสียงที่เหมาะสม
- คุณปรับสไตล์การสื่อสารของคุณเข้าหาผู้ฟัง ให้ข้อมูลสอดคล้องกับความคาดหวังของผู้ฟัง
- คุณสื่อสารเข้าใจง่าย พูดเรื่องยากให้เข้าใจได้ง่าย
การแสดงออกอื่นๆ
1 . คุณเป็นคนอารมณ์ดี
2. คุณมองโลกในแง่ดีเสมอ
3. มีคนเคยบอกคุณว่าคุณเป็นคนที่อยู่ด้วยแล้วสบายใจจัง
วิธีการให้คะแนน
ให้ 2 คะแนนกับทุกๆข้อที่คุณตอบว่า “ใช่”
ผลคะแนน
34 – 36 คะแนน คุณไปได้สวย
28 – 33 คะแนน คุณเริ่มต้นได้ดีแล้ว เพียงแต่ใส่ใจพัฒนาในบางข้อที่ขาดไปให้มากขึ้น
18 – 27 คะแนน คุณพอจะเอาตัวรอดได้ และควรใส่ใจกับสิ่งที่อยากจะพัฒนาอย่างจริงจัง
0 – 17 คะแนน ไม่ต้องกังวล เพราะทุกอย่างมีทางแก้ไข และมีแนวทางพัฒนาได้
สรุป
การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี ควรเริ่มจากภายในจิตใจ (Inside – Out) เพราะอารมณ์และความคิดส่งผลต่อการแสดงออกทางภาษากายอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก การคิดดี และรู้สึกดี ทำให้การแสดงออกเป็นธรรมชาติ โดยไม่ต้องฝืน ดังนั้น การพัฒนาบุคลิกภาพที่ดี ควรพัฒนาทั้งห้าด้านต่อไปนี้
- การดูแลทัศนคติ (Attitude) อารมณ์ (EQ) และการแสดงออกของตนเอง
- การแต่งกายที่เสริมภาพลักษณ์ของตนเอง และองค์กร
- การสื่อสาร พูดคุย การรับฟัง การนำเสนอความคิด
- การวางตัวเหมาะสมในโอกาสต่างๆ ในธุรกิจ และสังคม
- การปฏิบัติต่อผู้อื่น สร้างความไว้วางใจ อยู่บนพื้นฐานความดีงามสม่ำเสมอ
(C) Copyright – All rights reserved.
ข้อมูล เพิ่มเติม กรุณาติดต่อ AcComm & Image International
โทร 02 197 4588-9
Email: info@aclc-asia.com
FOR OFFICIAL WEBSITE, PLEASE CLICK:
WWW.ACLC-ASIA.COM
********************