Official Website, please click:
www.aclc-asia.com
รายละเอียดหลักสูตร คลิก:
https://www.aclc-asia.com/leadership-thai
การพัฒนาภาวะผู้นำแบบกูรูระดับโลก Dr. Marshall Goldsmith
ในปี 2554 ดิฉันและ YPO ได้ร่วมกันจัดสัมมนาครั้งใหญ่ที่มีผู้บริหารเข้าฟังกว่า 700 ท่าน โดยมี ดร.มาแชล โกลด์สมิท (Dr. Marshall Goldsmith) กูรูด้านการโค้ชและพัฒนาภาวะผู้นำ ที่ได้รับการยอมรับระดับนานาชาติ ผู้แต่งหนังสือชื่อดัง “What Got You Here Won’t Get You There” มาเล่าให้ฟังว่า ทำไมการพัฒนาผู้นำทั่วไปจึงไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
ดิฉันขอสรุปประเด็นที่น่าสนใจมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้ค่ะ
- ประเด็นแรก การพัฒนาภาวะผู้นำไม่ใช่ “State” (สภาพที่เริ่มและจบทันที) แต่เป็น “Process” (กระบวนการ) นั่นหมายถึง การอบรมภาวะผู้นำที่ได้รับการคาดหวังว่าจบการอบรมแล้ว ผู้เข้าอบรมจะเป็นผู้นำที่ดีได้ทันที ซึ่งเป็นความเข้าใจผิด อีกทั้งเรามักวัดผลการพัฒนาผิดที่ เช่น วัดที่ผลจากแบบประเมินการอบรม วัดจากโค้ช หรือความเห็นของผู้สอน ดร. โกลด์สมิท กล่าวว่า คนเราจะพัฒนาหรือไม่อยู่ที่ตัวเขาเองและผู้ร่วมงานของเขาเป็นหลัก ที่เป็นเช่นนั้น เพราะผู้นำทำงานกับคนและบรรลุผลด้วยการนำให้คนบรรลุเป้าหมายในการทำงานและขององค์กรให้ได้ คือไม่ใช่การทำงานคนเดียว
- การติดตามผลการพัฒนา ควรให้ผู้เข้าอบรมร่วมมือในการติดตามผลด้วย และให้โอกาสในการที่เขาได้เลือกผู้ที่จะมาช่วยติดตามผลการพัฒนาของเขาเองด้วย โดยอาจได้รับคำแนะนำจากโค้ชว่า ใครคือผู้ร่วมทางที่สมเหตุสมผล หนึ่งในข้อควรปฏิบัติคือ ต้องเป็นผู้ที่ตนทำงานด้วย ไม่ใช่อยากเลือกใครก็ได้ที่ชอบ
Leadership is a relationship, not between the coach and the coachee, but between the leader and the colleagues” – Marshall Goldmsith
- ดร.โกลด์สมิท แนะนำการติดตามผลการพัฒนาภาวะผู้นำ โดยขอให้ผู้ร่วมงานเข้าร่วมในกระบวนการในฐานะเป็นผู้ให้ Feedforward ซึ่งบริบทนี้ขอเรียกเป็นภาษาไทยว่า “ข้อมูลมุ่งเสริมการพัฒนาในอนาคต” ซึ่งต่างจาก Feedback ดังนี้
- ผู้รับ Feedforward ยินดีและตั้งใจมาขอข้อมูลเอง ไม่ได้รอคอยให้ผู้อื่นมาให้ feedback
- คำแนะนำมุ่งไปที่อนาคต ไม่ขุดเรื่องในอดีตมาถก เพราะเราเปลี่ยนอดีตไม่ได้
- ผู้ให้ feedforward ถึงแม้เป็นผู้น้อยกว่า ก็ไม่ตะขิดตะขวงใจที่จะให้ feedforward กับผู้ใหญ่
- ผู้ได้รับมีอิสระในการเลือกคำแนะนำไปใช้ คือเลือกสิ่งที่ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง
- ส่งเสริมความสัมพันธ์ที่ดี และความกระตือรือร้นในกระบวนการ ระหว่างผู้ขอและผู้ให้
การติดตามผลในแบบของ ดร. โกลด์สมิท เป็นเชิงบวก ไม่ยุ่งยาก และสร้างความเป็นเจ้าของในกระบวนการให้กับผู้ได้รับการพัฒนา โดยมีการศึกษา 8 องค์กร ผลการศึกษาพิสูจน์ว่า การพัฒนาภาวะผู้นำที่ไม่มีการติดตามรูปแบบเช่นนี้หรือคล้ายๆกัน ไม่ได้ช่วยให้ผู้เข้ารับการพัฒนามีประสิทธิผลมากขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ การศึกษานี้ได้รับการตีพิมพ์ในนิตยสาร strategy+business อีกด้วย
ดิฉันเห็นว่าการใช้ Feedforward มีประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ปกติ ดิฉันจะขอให้ผู้ให้ feedforward เป็นผู้ถามกลับด้วยว่า “ฉันให้ feedforward คุณแล้ว และถ้าฉันอยากจะดีขึ้นในด้าน….. คุณมีคำแนะนำอย่างไร” เพราะการสื่อสารรูปแบบนี้เป็นการส่งเสริมวัฒนธรรมการเรียนรู้และการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและในวงกว้างขึ้น
โดย ดร.อัจฉรา จุ้ยเจริญ โทร 02 197 4588-9
Leadership Development Affiliate of Dr. Marshall Goldsmith in Thailand
(C) Copyright – All rights reserved.
********************